ประเภทของไม้ที่นำมาใช้ทำไม้พื้นและไม้ปาร์เก้
1. ไม้เต็ง จัดอยู่ในประเภทขของไม้เนื้อแข็งที่มีเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อน นิยมนำมาใช้ในงานที่ต้องการแบกรับน้ำหนักมากๆ เช่น งานปูพื้น งานบันได งานเฟอร์นิเจอร์ เสา คาน วงกบประตู หน้าต่าง
ข้อดี - มีความแข็งแรง ทนทาน เนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีเนื้อไม้ที่มีความแข็งและความหนาแน่นสูง ดูแลรักษาง่าย ราคาไม่แพงมาก อายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย - หากเก็บไว้เป็นเวลานานจะทำให้เนื้อไม้เกิดการ บิด งอ โก่ง เมื่อหดตัวมักจะแตกเป็นลายงา
2. ไม้สัก เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความแข็งปานกลาง เนื้อไม้มีสีเหลืองทองถึงน้ำตาลแก่ เสี้ยนน้อย นิยมนำมาทำประตู หน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์ ปาร์เก้
ข้อดี - ปลวก มอด แมลง ไม่ทำอันตราย สีสวย มีลายในตัว มีความแข็งแรง คงทน อายุการใช้งานยาวนานมาก
ข้อเสีย - ราคาแพง
3. ไม้แดง เป็นไม้เนื้อแข็งที่เหมาะสำหรับใช้งานทั้งภายในและภายนอก เช่น งานวงกบ บันได ไม้พื้น ปาร์เก้ ฯลฯ เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแดงหรือแดงเรื่อๆ แน่น แข็งแรง
ข้อดี - เนื้อไม้มีความแข็งแรงมาก ทนทานต่อการกระแทกสูง จึงเหมาะกับการนำไปใช้สำหรับงานหนักที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ ไม้แดงปลวกไม่ทำอันตราย เมื่อนำมาเคลือบและขัดเงาจะให้ความสวยงามดี
ข้อเสีย - สีของเนื้อไม้มักจะเพี้ยนไปตามระยะเวลา โดยจะมีสีที่เข้มขึ้นจนกลายเป็นสีแดงคล้ำ
4. ไม้ประดู่ ไม้เนื้อแข็งที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เนื้อไม้มีสีแดงอมเหลืองจนถึงสีแดงอิฐ สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอก
ข้อดี - เป็นไม้ที่เนื้อไม้มีความทนทานสูงและมีความแข็งใกล้เคียงกับไม้แดงแต่มีการยืดหดตัวน้อยกว่า สามารถรับน้ำหนักได้มาก เนื้อไม้มีสีสวย
ข้อเสีย - เป็นไม้ที่อมความร้อน
5. ไม้มะค่า เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอมแดงจึงจัดเป็นไม้เนื้อแข็งอีกชนิดหนึ่งที่มีสีของเนื้อไม้ที่สวย นิยมนำมาทำเสา วงกบประตู หน้าต่าง ไม้พื้น ปาร์เก้
ข้อดี - เป็นไม้ที่มีความแข็งแรง เนื้อไม้แข็ง เหนียว ทนทาน มีการหดและยืดตัวน้อยมาก ลวดลายไม้สวยงาม ขัดและชักเงาได้ดี ปลวกไม่ทำลาย
ข้อเสีย - ราคาแพง และต้องระวังอย่าให้เนื้อไม้โดนน้ำขณะก่อสร้างเำพราะจะมีผลทำให้สีของเนื้อไม้บริเวณที่โดนน้ำกลายเป็นดำคล้ำ
6. ไม้ตะแบก เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีเนื้อไม้ละเอียด ไม่อ่อนหรือแข็งจนเกินไป มีสีออกในโทนสีอ่อน นิยมนำมาใช้ในงานตกแต่ง เช่น ประตู ไม้พื้น ปาร์เก้ บันได เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
ข้อดี - เป็นไม้ที่มีลวดลายไม้ที่สวยชัดเจนใกล้เคียงกับไม้สัก และราคาก็ไม่แพงมาก
ข้อเสีย - เป็นไม้ที่เหมาะสำหรับใช้งานภายในมากกว่าภายนอก เนื่องจากความแข็งแรงของไม้มีน้อยกว่าไม้ประเภทอื่น ดังนั้นหากนำมาใช้ในงานภายนอกอาจทำให้อายุการใช้งานของไม้สั้นลง
ไม้ทุกชนิดที่กล่าวมาข้างต้นสามารถนำไปแปรรูปได้ทั้งไม้พื้นและปาร์เก้ ซึ่งแต่ละประเภทต่างก็มีขนาดที่ต่างกัน ดังนี้
ขนาดไม้พื้น (หนา x กว้าง)
- 1 x 4 นิ้ว
- 1 x 6 นิ้ว
- 1 x 8 นิ้ว
- 1 1/2 x 12 นิ้ว
- 1 1/2 x 14 นิ้ว
- 1 1/2 x 16 นิ้ว
ขนาดของปาร์เก้ (หนา x กว้าง x ยาว)
- 1 x 2 x 8 1/2 นิ้ว
- 1 x 2 x 10 นิ้ว
- 1 x 2 x 12 นิ้ว
- 1 x4 x 4 นิ้ว
- 1 x 4 x 14 นิ้ว
- 1 x 4 x 18 นิ้ว
- 1 x 4x 24 นิ้ว
1. การปูปาร์เก้ ลายปาร์เก้ต่างๆ ที่ใช้สำหรับในการติดตั้งมีดังนี้
ซ้าย : ลายก้างปลา 1
ขวา : ลายก้างปลา 2
ซ้าย : ลายก้างปลายกดอก
ขวา : ลายตาราง
ซ้าย : ลายก่ออิฐ
ขวา : ลายหมากรุก หรือ ลายลูกเต๋า
ขั้นตอนการติดตั้งปาร์เก้
- การเตรียมพื้นผิว เตรียมพื้นผิวปูนให้มีความเรียบมากที่สุด โดยต้องไม่เป็นแอ่งกระทะ หลังเต่า หรือขรุขระ และพื้นปูนต้องสะอาด แห้งสนิท ไม่ชื้น
- ปูปาร์เก้ ทากาวลงบนพื้นปูนด้วยกาวที่ใช้สำหรับการปูปาร์เก้เท่านั้น เสร็จแล้วจึงนำปาร์เก้ปูลงทับ ทิ้งไว้จนกาวแห้งสนิทประมาณ 7-10 วัน ให้กาวและปาร์เก้ได้เกาะกันจนแห้งสนิท (ห้องที่มีขนาดเล็กไม่ควรปูด้วยไม้ขนาดใหญ่และยาว เพราะจะยิ่งทำให้ห้องดูเล็กและแคบลงกว่าเดิม ควรเลือกปูไม้ที่มีขนาด 1 x 2 x 12 นิ้ว จะช่วยทำให้ห้องดูกว้างยิ่งขึ้น)
- ขัดหน้าไม้ ขัดเสี้ยนและบริเวณรอยต่อของไม้ให้เรียบเสมอกัน
- รองพื้นด้วยยูริเทน ก่้อนลงยูริเทนควรเก็บเศษไม้และเช็ดพื้นให้สะอาด พยายามอย่าให้มีเศษผงของไม้หลงเหลืออยู่ เพราะเศษผงของไมม้จะทำให้เมื่อทายูริเทนลงไปแล้วพื้นผิวจะไม่เรียบ เวลาเดินจะรู้สึกเหมือนมีเศษฝุ่นผงติดอยู่ที่พื้นตลอดเวลา (3 สาเหตุหลักที่ทำให้พื้นไม่เรียบหลังจากปูปาร์เก้แล้ว คือ 1. เช็ดเศษฝุ่นไม้ไม่สะอาด 2. เปิดหน้าต่างขณะทาทำให้ฝุ่นละอองและฝุ่นต่างๆ สามารถปลิวเข้ามาและจับตัวอยู่ที่บริเวณพื้นผิวได้ 3. ยูริเทนเป็นฟอง)
- ทาทับหน้าด้วยสีย้อมไม้ ซึ่งมีให้เลือกด้วยกัน 3 ชนิด คือ ชนิดด้าน ชนิดกึ่งเงา และชนิดเงา
ขั้นตอนการติดตั้งไม้พื้น
- การวางคานไม้ เริ่มจากการทำคานไม้ขนาดหนา 1 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว หรือ หนา 1 นิ้ว กว้าง 3 นิ้ว แล้วยึดไม้คานกับพื้นด้วยตะปู โดยวางให้มีระยะห่างกัน 30, 40 หรือ 50 ซม. ขึ้นอยู่กัับแต่ละพื้นที่
- การเตรียมพื้นผิว เทปูนให้ได้ความสูงเสมอคาน โดยระวังอย่าเทให้กลบไม้คาน
- การวางไม้พื้น ก่อนจะวางไม้พื้นจะเลือกทากาวบางๆ แบบเต็มพื้นที่พรือจะทาเฉพาะบริเวณหัว-ท้ายของแผ่นไม้ หรือจะทาเฉพาะตรงลิ้นไม้ก็ได้ จากนั้นวางไม้พื้นลงในแนวขวางกับไม้คาน แล้วยึดไม้พื้นกับคานด้วยสกรู (ห้องที่มีขนาดเล็กไม่ควรเลือกปูด้วยไม้ขนาดใหญ่เพราะจะทำให้ห้องยิงดูแคบลง ควรปูไม้ขนาด 1 นิ้ว x 4 นิ้ว x 1 เมตร)
- ขัดหน้าไม้ ขัดเสี้ยนและบริเวณรอยต่อของไม้ให้เรียบเสมอกัน
- รองพื้นด้วยยูริเทน ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปูปาร์เก้
- ทาทับด้วยสีย้อมไม้ ซึ่งมีให้เลือกด้วยกัน 3 ชนิด คือ ชนิดด้าน ชนิดกึ่งเงา และชนิดเงา
ไม้พื้นลามิเนต
ไม้ พื้นสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นมาด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ โดยมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยชั้นต่างๆ (ทั้งนี้จำนวนชั้นขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ) โดยชั้นบนจะเป็นชั้นของลวดลายที่ทำเลียนแบบลายไม้ตามธรรมชาติแล้วเคลือบปิด ผิวด้วยแผ่นฟิล์มซึ่งทำจากเมลามีนเรซิ่นเพื่อป้องกันรอยขูดขีด สำหรับชั้นที่เป็นไม้เกิดจากการนำผงจากไม้ที่ถูกทำให้ละเอียดนำไปผสมสารบาง ชนิดเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ตัวไม้ แล้วจึงนำมาอัดให้เป็นแผ่นด้วยความร้อนและแรงดันสูง ชนิด HDF (High-Density Fiberboard) ส่วนชั้นล่างสุดเป็นชั้นของแผ่นฟิล์มป้องกันความชื้น
ทุกๆ ชั้นของไม้ลามิเนตจะถูกนำมาหลอมละลายจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันทั้งแผ่น โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามความหนาดังนี้ คือ
1. หนา 8 มม. เป็นชนิดที่เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป เนื่องจากไม่ต้องรับน้ำนักมาก แรงเสียดทาน และแรงเสียดสีเยอะ
2. หนา 12 มม. เหมาะสำหรับการติดตั้งภายในอาคาร สำนักงาน รวมถึงบริเวณที่มีการวางสิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆ จำนวนมาก
ขั้นตอนการติดตั้งไม้พื้นลามิเนต
- การเตรียมพื้นผิว พื้นผิวที่จะทำการปูจะต้องเป็นพื้นผิวที่เรียบ สะอาด ปราศจากฝุ่นผงต่างๆ แห้ง ไม่ชื้น ไม่มีน้ำซึมจากใต้ดินและผนัง
- ปูด้วยแผ่นฟิล์ม เพื่อป้องกันความชื้น โดยบริเวณที่เป็นรอยต่อจะต้องวางให้เหลื่อมกันประมาณ 5-10 ซม. แล้วจึงติดด้วยเทปกาว
- ปูทับด้วยแผ่นโฟม เพื่อช่วยให้พื้นผิวมีความเรียบเสมอกันมากขึ้น และช่วยไม่ให้เกิดเสียงดังเวลาเดินบนพื้นไม้
- ปูไม้ลามิเนต เริ่มปูไม้ลามิเนตจากมุมด้านในของห้อง โดยปูเรียงเป็นแถวขนานกับผนังห้อง และใช้ลิ่มตอกยึดระหว่างพื้นไม้กับขอบผนัง โดนเว้นช่องระหว่างพื้นไม้กับผนังไว้ประมาณ 1-2 ซม. เพื่อรองรับการขยายตัวของไม้เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
- ติดตั้งบัวผนังและตัวจบ ขั้นตอนสุดท้ายของการติดตั้งและการเก็บรายละเอียดงาน
แม้ ไม้ลามิเนตจะเป็นวัสดุปูพื้นทางเลือกใหม่ที่นำมาใช้ปูพื้นแทนไม้จริงที่นับ วันจะยิ่งหายากและมีราคาแพง แค่ไม้ลามิเนตก็ยังไม่ใช่ทางเลือกที่สมบูรณ์แบบ เพราะก็ยังมีทั้งข้อดีและข้อจำกัดอีกมากมาย ดังนี้
ข้อดี
ทุกๆ ชั้นของไม้ลามิเนตจะถูกนำมาหลอมละลายจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันทั้งแผ่น โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามความหนาดังนี้ คือ
1. หนา 8 มม. เป็นชนิดที่เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป เนื่องจากไม่ต้องรับน้ำนักมาก แรงเสียดทาน และแรงเสียดสีเยอะ
2. หนา 12 มม. เหมาะสำหรับการติดตั้งภายในอาคาร สำนักงาน รวมถึงบริเวณที่มีการวางสิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆ จำนวนมาก
ขั้นตอนการติดตั้งไม้พื้นลามิเนต
- การเตรียมพื้นผิว พื้นผิวที่จะทำการปูจะต้องเป็นพื้นผิวที่เรียบ สะอาด ปราศจากฝุ่นผงต่างๆ แห้ง ไม่ชื้น ไม่มีน้ำซึมจากใต้ดินและผนัง
- ปูด้วยแผ่นฟิล์ม เพื่อป้องกันความชื้น โดยบริเวณที่เป็นรอยต่อจะต้องวางให้เหลื่อมกันประมาณ 5-10 ซม. แล้วจึงติดด้วยเทปกาว
- ปูทับด้วยแผ่นโฟม เพื่อช่วยให้พื้นผิวมีความเรียบเสมอกันมากขึ้น และช่วยไม่ให้เกิดเสียงดังเวลาเดินบนพื้นไม้
- ปูไม้ลามิเนต เริ่มปูไม้ลามิเนตจากมุมด้านในของห้อง โดยปูเรียงเป็นแถวขนานกับผนังห้อง และใช้ลิ่มตอกยึดระหว่างพื้นไม้กับขอบผนัง โดนเว้นช่องระหว่างพื้นไม้กับผนังไว้ประมาณ 1-2 ซม. เพื่อรองรับการขยายตัวของไม้เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
- ติดตั้งบัวผนังและตัวจบ ขั้นตอนสุดท้ายของการติดตั้งและการเก็บรายละเอียดงาน
แม้ ไม้ลามิเนตจะเป็นวัสดุปูพื้นทางเลือกใหม่ที่นำมาใช้ปูพื้นแทนไม้จริงที่นับ วันจะยิ่งหายากและมีราคาแพง แค่ไม้ลามิเนตก็ยังไม่ใช่ทางเลือกที่สมบูรณ์แบบ เพราะก็ยังมีทั้งข้อดีและข้อจำกัดอีกมากมาย ดังนี้
ข้อดี
- น้ำหนักเบา
- ติดตั้งได้รวดเร็ว รื้อถอนง่าย สามารถเลือกเปลี่ยนใหม่เฉพาะแผ่นที่ชำรุดได้ ค่าแรงติดตั้งถูก
- มีสีให้เลือกมากมาย
- มีความสม่ำเสมอของสีและลวดลาย
- ทนทานต่อรอยขีดข่วนได้ดีกว่าไม้จริง
- ทำความสะอาดง่าย ราคาถูก
- มี ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความชื้นค่อนข้างมาก ต้องระวังอย่าให้มีน้ำขังหรือมีความชื้นเกิดขึ้น เพราะจะทำให้ไม้เกิดดารพองตัว หลุด ร่อน ออกมาได้
- มีปัญหาเรื่องปลวกมาก